วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Pepsi กับสหัสวรรษใหม่และเข้าสู่ยุคดิจิตอล



เมื่อเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ ทีมวิจัยและพัฒนาของเป๊ปซี่ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของเป๊ปซี่ เมาเทนดิวออกรสชาติใหม่: Mountain Dew Code Red (เมาเทนดิวรสเชอร์รี่) และ Mountain Dew LiveWire (เมาเทนดิวรสส้ม) และ เซียร์รา มิสต์ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่รสมะนาว แบรนด์ชั้นนำของเป๊ปซี่นำทัพด้วย Pepsi ONE, Pepsi Twist, Pepsi Vanilla และ Pepsi Edge เป๊ปซี่ที่มีแคลลอรี่ และน้ำตาลแค่ครึ่งเดียวของโคล่าปกติ ความต้องการเครื่องดื่มปราศจากคาร์บอเน็ตของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน เป๊ปซี่ตอบสนองด้วยเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ SoBe และเสริมด้วยเครื่องดื่มอย่างเช่น Dole และ ทรอปิคคาน่า เป๊ปซี่ให้ความสดชื่นสำหรับทุกรสชาติและทุกเวลาของวัน ผ่านทั้งทางสื่อกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต และ ตู้เครื่องดื่ม การโฆษณาและการตลาดที่เหนือชั้นของเป๊ปซี่ก็ยังเป็นผู้นำที่กล่าวขานอีกด้วย
เมาเทนดิวนำเสนอตัวเองภายใต้คอนเซ็ปต์ความตื่นเต้นท้าทายของ Dew Dudes ไม่ว่าจะเป็นการปีนเขาจนถึงสู้กับเสือชีต้า ไม่มีอะไรที่คนพวกนี้จะไม่ทำเพื่อให้ได้เมาเท่นดิวของเขา การเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ทำให้เป๊ปซี่และตรายี่ห้อสดใหม่อยู่ในใจผู้บริโภคเสอ และยืนอยู่แถวหน้า การสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดกับ Yahoo เป็นการช่วยโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก ผู้บริโภคสามารถนำคะแนนเป๊ปซี่มาแลกของรางวัลทางออนไลน์ได้ เป๊ปซี่ทีวี ออกอากาศครั้งแรกด้วยการโชว์เพลง “Pepsi Smash” เป๊ปซี่ยังจับมือกับ Apple Computer, Inc. เว็บไซต์ iTunes และเครื่องเล่นเพลง iPod เพื่อจับสลากรางวัลให้ดาวน์โหลดฟรี และรางวัลอื่นๆ อีกด้วย
ในสนามกีฬา เป๊ปซี่จับมือกับสมาคมเบสบอลที่ดังที่สุด สมาคมฟุตบอลดัง และสมาคมฟุตบอลทีมชาติ รวมทั้งกับดาวเด่นของแต่ละสมาคมกีฬาอีกด้วย ปัจจุบันนี้ Pepsi-Cola ยังคงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รสชาติใหม่ๆ และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ในหลากหลายรูปทรงและขนาดเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค เป๊ปซี่ยังคงมองหาวิถีทางที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่พวกเขาต้องการ ได้ทุกเมื่อ และทุกที่

Pepsi Advertising + Presenter จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


พรีเซนเตอร์คนแรก



  • ในปี ค.ศ. 1909 เป๊ปซี่ได้นำนักแข่งรถระดับแนวหน้า ชื่อ นายบาร์นี่ โอลด์ฟิลด์ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงคนแรกที่ปรากฏตัวในโฆษณาเป๊ปซี่ในหน้าหนังสือพิมพ์ โดยมีข้อความว่า "เครื่องดื่มชั้นยอด…เติมความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เป็นเครื่องบำรุงกำลังสำหรับการแข่งขันประลองความเร็ว" 
รอน บราวน์ (Ron Brown) เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่ปรากฏในแคมเปญโฆษณาที่เป๊ปซี่มุ่งเน้นเจาะตลาด แอฟริกัน-อเมริกัน

แนวคิดชุดโฆษณา
ในปี ค.ศ. 1950 มีดาราฮอลลีวูด โจน ครอวฟอร์ด (Joan Crawford) ภรรยาของนายอัลเฟรด เอ็น สตีล ประธานกรรมการและ CEO ของเป๊ปซี่-โคล่า เป็นพรีเซ็นเตอร์ในการโปรโมทสินค้าของเป๊ปซี่-โคล่า โดยในยุคนั้นเป็นยุคที่เป็ปซี่สามารถก้าวทันรสนิยมของผู้บริโภค โดยมีการเพิ่มข้อความโฆษณาการส่งเสริมการขายเป๊ปซี่-โคล่าว่าเป็นประสบการณ์ มากกว่าการต่อรองราคา โดยใช้ชื่อว่า "สองเท่าในราคา 5 เซ็นต์" ก็เหมือนกับ "ได้มากกว่า 1 ออนซ์" (More Bounce to the Ounce) ทำให่ในปี 1950 สามารถทำยอดขายได้มากที่สุดและเป็นที่ชืนชอบและนิยมมากที่สุดในทศวรรษนั้น
  • ปี ค.ศ. 1943 ได้มีการออกโฆษณาชุด "Twice as much" โดยมีแนวความคิด "Bigger drink และ better taste" เข้าไปด้วยโดยใช้ "Bigger Drink, Better Taste" เป็นแนวคิดหลัก เพื่อนำเป๊ปซี่-โคล่า ก็เริ่มแพร่ไปสู่ ละติน อเมริกา
  • ปี ค.ศ. 1949 มีการเพิ่มประโยค "Why take less when Pepsi's best?" เข้าไปในโฆษณา "Twice as much" ซึ่งเป็นประโยคเด็ดที่โดนใจผู้ที่นิยมชมชอบเป๊ปซี่
  • ปี ค.ศ. 1953 เมื่อ ชาวอเมริกันเริ่มตระหนักถึงเรื่องน้ำหนักตัว เป๊ปซี่เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่เกี่ยวกับเรื่องแคลอรี่ต่ำในแคมเปญ "ความสดชื่นแบบเบาๆ" ("The Light Refreshment")
  • ค.ศ. 1954 ข้อความโฆษณา "ความสดชื่นแบบเบาๆ " ได้มีการการปรับเปลี่ยนเข้ากับ "สดชื่นได้โดยไม่ต้องเติม" ("Refreshing Without Filling")
  • ค.ศ. 1958 เป๊ปซี่ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็น the kitchen cola เนื่องจากการการจำหน่ายในระยะเวลายาวในในราคาที่ถูกและพอเหมาะ ทำให้เป๊ปซี่สามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าไว้ที่บรรดาผู้บริโภคหนุ่มสาวที่ทันสมัย ด้วยแนวคิด "อยากเข้ากันได้กับกลุ่ม ดื่มเป๊ปซี่สิ" ("Be sociable, have a Pepsi") ความโดดเด่นของขวดเกลียว เข้ามาแทนที่ขวดแบบเรียบแบบเก่าของเป๊ปซี่และเป็นที่มาของการโฆษณาใหม่ด้วย
  • ค.ศ. 1962 เป๊ปซี่มีโลโก้ใหม่ นับเป็นอันดับที่ 6 ในประวัติศาสตร์ของเป๊ปซี่ เริ่มใช้โลโก้ใหม่เป็นครั้งแรกบนฝาจีบ ตามติดมาด้วยการออกแคมเปญโฆษณาตัวใหม่ "Pepsi Generation"
  • ค.ศ. 1963 หนึ่งในช่วงการศึกษาสถิติประชากรมนุษย์สำคัญที่สุด ยุคเบบี้ บูมเมอร์ในช่วงหลังสงครามเป็นปรากฏการณ์ทางด้านสังคมและด้านการตลาดอันดับหนึ่ง เป๊ปซี่มองเห็นถึงช่องทางของความเปลี่ยนแปลงนั้น จึงกำหนดตำแหน่งของตัวเองว่าเป็น เครื่องดื่มสำหรับคนรุ่นใหม่ - เป๊ปซี่ เจเนอเรชั่น โฆษณา "Come alive! You're in the pepsi Generation" สร้างประวัติศาสตร์แก่วงการโฆษณา เป็นครั้งแรกที่การกำหนดตัวผลิตภัณฑ์ไม่ได้อยู่ที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้นๆ แต่อยู่ที่ลักษณะวิถีชีวิตของผู้บริโภค
  • ค.ศ. 1965 เพลงโฆษณา "Girlwatchers" ได้รับความนิยมติดอันดับหนึ่งใน 40 จากนั้นโฆษณาของ เมาเท่น ดิว
  • ค.ศ. 1969 "You've got a lot to live. Pesi's got a lot to give" บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการโฆษณาของเป๊ปซี่ เจเนอเรชั่น คนหนุ่มสาวและวิถีชีวิตยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญของแคมเปญ แต่ด้วยกลยุทธ์ "Live/Give" ซึ่งเป็นการรับรู้และการสะท้อนภาพของเหตุการณ์และอารมณ์ร่วมสมัย ก็เริ่มเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างสมบูรณ์ในองค์ประกอบงานโฆษณา
  • ค.ศ. 1990 ดาราวัยรุ่น เฟรด ซาเวจ (Fred Savage) และ เคิกร์ก คาเมรอน (Kirk Cameron) มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ กับแคมเปญ "New Generation" และตำนานฟุตบอลอย่าง โจ มอนทานา (Joe Montana) ก็กลับมาเป็น พรีเซ็นเตอร์ให้อีกครั้ง ตำนานวงการดนตรี เรย์ ชาร์ล (Ray Charles) ได้ร่วมงานกับ Uh-Huh Girls แล้วสโลแกนของไดเอท เป๊ปซี่ ก็เปลี่ยนเป็น "You Got The Right One Baby, Uh-Huh."
  • ค.ศ. 1991 บรรดา "Uh-Huh Girls" ก็ได้เป็นนักร้องประสานเสียงให้กับ เรย์ ชาร์ลส์ และแคมเปญนั้นก็กลายเป็นโฆษณา ที่โด่งดังที่สุดในอเมริกา สุดยอดนางแบบอย่าง ซินดี้ ครอว์ฟอร์ด (Cindy Crawford) ก็มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ให้กับเป๊ปซี่ ในโฆษณาชุดที่ได้รับรางวัล
  • ค.ศ. 1993 โฆษณาชุด "Be young, have fun, drink Pepsi" ได้ ชากิล โอนีล (Shaquille O'Neal) นักเบสบอล ซูเปอร์สตาร์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นชุดที่ดีที่สุดในอเมริกา
  • ค.ศ. 1999 โฆษณาชุดใหม่ "The Joy of Cola" ได้เสียงประกอบของดาราดังอย่าง มาร์ลอน แบรนโด (Marlon Brando), ไอแซค (Isaac Hayes) และ ราชินีเพลงโซล อาเรธา แฟรงคลิน (Aretha Frankin) และยังมี ดาราเด็ก ฮาล์ลี ไอเซนเบิร์ก (Hallie Eisenberg) ร่วมแสดงเป็น "Little Girl" อีกด้วย
  • ค.ศ. 2000 Faith Hill, Sammy Sosa และ Ken Griffey Jr. สามบุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง เซ็นข้อตกลงใน การรับรองผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ร่วมกัน Faith Hill ผู้ซึ่งได้เขย่าชาร์ทด้วยเพลงฮิตของเธอ แสดงในโฆษณาชุด "Joy of Cola" ร่วมกับ Pepsi Girl ฮาล์ลี่ ไอเซ็นเบิร์ก (Hallie Eisenberg) ซึ่งภาพยนตร์โฆษณาเผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ในระหว่างการประกาศผลรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ดาราเบสบอล Sammy Sosa และ Ken Griffey Jr. ได้มาร่วมแสดงฝีมือในโฆษณษของเป๊ปซี่ด้วย
  • ค.ศ. 2001 ซูเปอร์สตาร์เพลงป๊อป บริทนีย์ สเปียร์ส ปรากฏตัวในฐานะพรีเซ็นเตอร์ของเป๊ปซี่เป็นครั้งแรกในงานประกาศรางวัล อคาเดมี อวอร์ดส์ สปอตโฆษณาที่โด่งดังชิ้นนั้น ก็ได้เผยแพร่บนโลกอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน ซึ่งแฟนๆ กว่า 2 ล้านคน คลิกเข้าไปชมโฆษณาชิ้นนี้ของเธอ ซึ่งมีชื่อชุดว่า "the Joy of Pepsi"

ความท้าทายของตลาด Pepsi


ความท้าทายของเป๊ปซี่






ปรากฏการณ์ทางธุรกิจที่น่าจดจำเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 ถึงยุค 70 นักธุรกิจ สื่อ และ ผู้บริโภคสังเกตได้ว่าเป๊ปซี่เริ่มมาแรง และเริ่มตีตลาดเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ โคคา-โคล่า ด้วยความสำเร็จ สื่อตั้งชื่อการแข่งขันนี้ว่า สงครามโคล่า และมันก็ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวงการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ ในปี ค.ศ. 1965 เปลี่ยนโลโก้จากรูปฝาขวดเป็นสัญลักษณ์ที่เรียบง่ายขึ้น

ตลอดยุค 70 เป๊ปซี่ยังคงก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ขวดบรรจุขนาดใหญ่ได้รับการแนะนำออกสู่ตลาด อย่างเช่นขวด 32 ออนซ์ และ 64 ออนซ์ หลังจากนั้นขนาดบรรจุขนาดครอบครัวก็ทำให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณขวดพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา นำไปรีไซเคิลได้ และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย พลาสติกก็มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงยิ่งกว่าแก้ว ในปี 1970 บริษัทย้ายสำนักงานใหญ่จากนิวยอร์กไปยัง เพอร์เชส นิวยอร์ก เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน และเป๊ปซี่เปลี่ยน และ Pepsi Generation ยังคงดำเนินไปได้อย่างถูกจังหวะเวลา ไดเอทเป๊ปซี่ ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โฆษณาของ เมาเทนดิว ก็แพร่ภาพทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ในต่างประเทศ ประมาณ 15 ปีให้หลังที่รองประธานาธิบดี นิกสัน และนายกรัฐมนตรี ครุสชอฟ ของโซเวียตได้เยี่ยมชมตู้จำหน่ายเป๊ปซี่-โคล่า ที่งานแสดงสินค้า American Exposition เป๊ปซี่กลายมาเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคอันดับแรกของอเมริกาที่มีการผลิตในสหภาพโซเวียต ระหว่างครึ่งทศวรรษของ Pepsi Challenge มีการทำกลยุทธ์ทางการตลาดนานาชาติ เมื่อผู้บริโภคได้ทดลองดื่มแล้วและยืนยันว่าผู้คนจำนวนมากชื่นชอบรสชาติของเป๊ปซี่มากกว่าโค้ก แคมเปญ Pepsi Challenge ทำให้เรื่องจริงกลายเป็นโฆษณา ด้วยการบันทึกภาพการทดลองดื่มเป๊ปซี่และโค้ก แคมเปญนี้สร้างประวัติศาสตร์ทางการตลาด และช่วยให้เป๊ปซี่ได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น ในปี 1976 อย่างไม่เคยมีมาก่อน เป๊ปซี่-โคล่า กลายเป็นเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ที่มียอดขายมากที่สุดในซูเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกา ในตอนต้นของ 1980s เป๊ปซี่เป็นอันดับหนึ่งในด้านของการขายสินค้าซื้อกลับบ้าน (ร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ) ตลาดของการลดน้ำหนักเติบโตขึ้น และไดเอทเป๊ปซี่ก็เจริญเติบโตด้วย เช่นกันกับ เมาเท่นดิว ที่ทะยานตัวขึ้นด้วยแคมเปญโฆษณา Give Me a Dew

Pepsi Advertising